วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 1 องค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 อย่าง คือ
1) ฮาร์ดแวร์ คือ ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 3 หน่อย คือ
1.1 หน่วยนำข้อมูลเข้า คือ ทำหน้าที่รับข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
1.2 หน่วยประมวลผลกลาง คือ ซีพียูทำหน้าที่ควบคุมการทำงานและประมวลผลข้อมูลที่ได้รับจากหน่วยนำข้อมูลเข้า
1.3 หน่วยแสดงผล คือ ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ออกมาอุปกรณ์ต่างๆ
2) ซอฟแวร์ คือ
ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามลำดับขั้นตอน ซึ่งเขียนขึ้นด้วยคำสั่งคอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟแวร์ระบบ เป็นซอฟแวร์ที่ช่วยในการจัดการ ควบคุมการทำงานร่วมกัน
2.2 ซอฟแวร์ประยุกต์ หรือ ชุดของโปรแกรม ที่เขียนขึ้นเพื่อใช้กับงานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- โปรแกรมที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเองฃ
- โปรแกรมสำเร็จรูป
3) บุคลากร
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1.กลุ่มผู้ใช้งานทั่วไป
2.กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ
3.กลุ่มผู้บริหารระดับสูง
4) ข้อมูล / สารสนเทศ
เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง การทำงานของคอมพิวเตอร์จะเกี่ยวข้องกับข้อมูลตั้งแต่ การนำข้อมูลเข้าจนกลายเป็นสารสนเทศ
5) กระบวนการทำงาน
หรือโพรซีเยอร์ หมายถึงขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้จักการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
บทที่ 2 ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
ค.ศ.1617 จอห์น เนเปียร์ ชาวสก๊อต(Jhon Napier) คิดอุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคูณ การหารหรือถอดรากให้ง่ายขึ้นเรียกว่า “Napier’s bones”
ค.ศ.1630 วิวเลียม ออตเทรต(William Augtred) ชาวอังกฤษ ประดิษฐ์สไวด์รูล คอมพิวเตอร์แบบอนาลอก
ค.ศ.1642 เบลส์ ปาสคาล(Bkaise Pascal) ชาวฝรั่งเศสประดิษฐ์เครื่องบวกเลขจากฟันเฟื่อง 8 ตัว นับให้ครบ 10 ครั้งของการทำงาน
ค.ศ.1671 กอทฟริต ฟอน ลิปนิซ(Gottfried von Leibniz) ชาวเยอรมัน ประดิษฐ์เครื่องที่สามารถคูณและหาร
ค.ศ.1745โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด(Joseph marry Jacquard) ชาวฝรั่งเศส คิดเครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรู เครื่องที่ทำงานด้วยบัตรเจาะรูและเจาะรูและใช้โปรแกรมคำสั่งให้ทำงานเป็นเครื่องแรก
ค.ศ.1822 ชาน์ล แบบเพจ(Charles Babbage) ประดิษฐ์เครื่องคำนวณที่เรียกว่า เครื่องหาผลต่าง(Difference Engine) ใช้คำนวณและพิมพ์ค่าทางตรีโกณมิติ และฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์
ค.ศ.1830 ชาร์ล แบบเบจ(Charles Babbage) สร้างเครื่องคำนวณ”เครื่องวิเคราะห์”(Analytical engine) แบ่งการทำงานเป็น 3 ส่วน ได้แก่ เก็บข้อมูล ควบคุมและคำนวณ(เครื่องคอมพิวเตอร์)
บทที่ 3 การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือสำหรับการติดต่อสื่อสาร ส่งผลให้การติดต่อสารสามารถทำได้ง่าย รวดเร็ว มีคุณภาพและประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น เช่น การใช้อีเมล์ การถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียมและการแชท เทคโนโลยีการสื่อสารทำให้เกิดยุคของโลกไร้พรมแดน และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ดังนี้
ระบบการสื่อสารข้อมูล คือ การรับ ส่ง โอน ย้ายหรืแลกเปลี่ยนข้อมูลการสื่อสารจะมีองค์ประกอบในการสื่อสารดังนี้
1.ผู้ส่งข้อมูล คือ สิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังจุดหมายที่ต้องการ
2.ผู้รับข้อมูล คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาจากผู้ส่ง
3.ข้อมูล คือ สิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปยังผู้รับ
4.สื่อนำข้อมูลหรือตัวกลาง คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำข้อมูลจากส่งไปยังผู้รับ
5.โพรโทคอล คือ กฎเกณฑ์ ข้อตกลงเพื่อที่จะส่งและรับข้อมูลได้ถูกต้อง
ทิศทางการสื่อสาร
ปัจจุบันการสื่อสารข้อมูลมีหลายวิธีทั้งตรงและอ้อมแบ่งอออกเป็น 3 รูปแบบดังนี้
1.การสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว คือ ไม่มีข้อจำกัดทางด้านเวลา
2.การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางสลับกัน คือ สื่อนำข้อมูลที่นิยมใช้ในการสื่อสาร
3.การสื่อสารข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน คือ การสื่อสารสามารถตรวจสอบผลลัพธ์จากการสื่อสารได้
ชนิดของสัญญาณ
รูปแบบของข้อมูลที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ตัวหนังสือ เสียงและภาพเคลื่อนไหว ไม่สามารถส่งข้อมูลในความเร็วสูงได้
1.สัญญาณแอนะล็อก มีลักษณะเป็นสัญญาณต่อเนื่องฝนรูปแบบคลื่น
2.สัญญาณดิจิทัล มีลักษณะเป็นสัญญาณไม่ต่อเนื่องในรูปแบบกราฟสี่เหลี่ยม
การถ่ายโอนข้อมูล รุปแบบของการถ่ายโอนข้อมูล
1.การส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนุกรม
1.1การส่งสัญญาณข้อมูลแบบอะซิงโครนัส คือ การส่งสัญญาณข้อมูลครั้งละ 1 บิต
1.2การส่งสัญญาณข้อมูลแบบโครนัส คือ การส่งสัญญาณข้อมูลที่มีการประสานจังหวะการทำงาน
2.การส่งสัญญาณข้อมูลแบบขนาน คือ การส่งข้อมูลครั้งละหลายๆบิตขนานกันไปบนสายสัญญาณตามจำนววนบิตของข้อมูลนั้น
ตัวกลาง
1.สายคู่บิดเกลียว มีลักษณะคล้ายสายทั่วไป
2.สายตัวนำร่วมแกน มีลักษณะคล้ายสายเคเบิลทีวี
3.สายใยแก้วนำแสง เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาคุณสมบัติของใยแก้วที่เรียบ
4.แสงอินฟราเรด เป็นสัญญาณข้อมูลที่มีความถี่สั้น
5.สัญญาณวิทยุ มีลักษณะการส่งสัญญาณได้ในระดับความถี่ต่างกัน
6.ไมโครเวฟ เป็นการสือสารไร้สายที่เป็นคลื่นวิทยุ
7.ดาวเทียม เป็นการสือสารจากพื้นโลก